top of page
ค้นหา

แผงโซลาร์เซลล์ มีกี่ขนาด ควรเลือกใช้ประเภทไหนดี?

  • รูปภาพนักเขียน: Chiangrai Solarcell
    Chiangrai Solarcell
  • 15 มิ.ย. 2564
  • ยาว 1 นาที

แผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaics Module ) คือ แผ่นโซลาร์เซลล์ขนาดสี่เหลี่ยมที่นำมาวางรวมกัน จนกลายเป็น "แผงโซลาร์เซลล์" ที่สามารถนำเอาแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้ โดยทำมาจากผลึกซิลิคอนที่มีคุณสมบัติหลักในการรับแสงอาทิตย์ และเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และชั้นบรรยากาศของโลก จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แผงโซลาร์เซลล์เริ่มเป็นที่นิยมในปัจจุบันเป็นนการลงทุนระยะยาวเพราะแผงโซล่าร์เซลล์สามารถใช้งานได้หลายสิบปีถ้าหากเราดูแลแผงดีๆนะคะ



แผงโซลาร์เซลล์ มีให้เลือกหลายแบบและหลายขนาด ขึ้นอยู่กับการใช้งานสำหรับในประเทศไทย มีแผงโซลาร์เซลล์ 3 ประเภท ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้


  • แผงโซลาร์เซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

ทำมาจากซิลิคอนทรงกระบอกบริสุทธิ์ ต้นทุนสูง เกรดคุณภาพที่สุด มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูง แม้จะอยู่ในภาวะที่มีแสงน้อยก็ตาม มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปีขึ้นไป แต่ราคาค่อนข้างสูง

  • แผงโซลาร์เซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่ตัดมุม การผลิตไม่ซับซ้อนมากนัก ทำให้มีราคาถูกกว่า แต่ก็มีคุณสมบัติผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าแบบแรก จึงเหมาะติดตั้งในที่ที่มีอุณหภูมิสูง มีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี

  • แผงโซลาร์เซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

ทำมาจากสารอะมอฟัส (Amorphous silicon) และสารชนิดอื่นๆ โดยนำมาฉาบเป็นแผ่นฟิล์ม มีคุณสมบัติผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด จึงมีราคาถูก แต่ไม่เหมาะนำมาใช้ในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด อายุการใช้งานสั้นกว่าประเภทอื่นๆ


ข้อควรรู้ก่อน ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคาบ้าน

- ต้องแจ้งทาง สำนักงานเขต, กรมกำกับพลังงาน, การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่ออนุญาตใช้แผงโซลาร์เซลล์

- ตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดแผงโซลาร์เซลล์ ควรอยู่ในบริเวณที่เปิดโล่ง ไม่มีร่มเงาของต้นไม้บดบังแผงเซลล์

- ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝุ่นหนาแน่น เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์

- การติดตั้งควรให้ลาดเอียงประมาณ 10-15 องศา แนะนำให้หันแผงไปทางทิศใต้ เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่มากที่สุด

- กรณีที่ติดต่อให้บริษัทเอกชนต่างๆ ดำเนินเรื่องและติดตั้งให้ ควรใช้บริการจากองค์กรที่น่าเชื่อถือและมีใบรับรองถูกต้อง


ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ สามารถขายกระแสไฟคืนให้ภาครัฐได้ด้วยนะ !!



การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดการใช้ไฟฟ้าแล้ว หากกระแสไฟฟ้าเหลือ ยังสามารถขายคืนให้แก่ภาครัฐได้ โดยในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบหลัก ได้แก่


1. ระบบออฟกริด (Off Grid) : เหมาะกับบ้านเรือนที่อยู่ห่างไกล ไม่สะดวกในการใช้กระแสไฟฟ้า เนื่องจากไม่มีเสาไฟฟ้าผ่านหน้าบ้าน จึงจำเป็นต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยตรงระบบนี้ต้องใช้แบตเตอรี่ในการเก็บกระแสไฟไว้ใช้


2. ระบบออนกริด (On Grid) : เหมาะกับบ้านเรือนที่มีไฟฟ้าเข้าถึงอยู่แล้ว และต้องการผลิตกระแสไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ร่วมด้วย ทำให้เลือกใช้ไฟฟ้าจากแหล่งไหนก็ได้ ซึ่งหากกระแสไฟเหลือ ก็สามารถแบ่งขายให้แก่หน่วยงานการไฟฟ้าของภาครัฐได้


3. ระบบไฮบริด (Hybrid Grid) : มีความคล้ายคลึงกับระบบออนกริด แต่มีราคาที่สูงกว่า เนื่องจากสามารถเก็บกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ไว้ใช้สำรองโดยใช้แบตเตอรี่ในการเก็บกระแสไฟไว้ใช้ตอนกลางคืนหรือในเวลาที่ไฟฟ้าดับได้ แต่ระบบนี้ไม่สามารถขายกระแสไฟคืนให้แก่ภาครัฐได้


แผงโซลาร์เซลล์ ถือเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกและพลังงานสะอาด ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ซึ่งในยุคปัจจุบันเป็นนที่ินิยมกันอย่างมากทั้งนี้ก่อนการติดตั้งควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจอย่างถูกต้อง และแนะนำให้เลือกติดตั้งกับผู้เชี่ยวชาญเพราะถ้าหากติดตั้งผิดพลาดอาจก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคตได้


ขอขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2026053






 
 
 

Comments


แบบฟอร์มสมัครรับข่าวสาร

ขอบคุณสำหรับข้อมูล!

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn

©2021 by สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน. Proudly created with Wix.com

bottom of page